เมื่อวันที่ 1 – 4 เมษายน 2568 มหาวิทยาลัยพะเยา กองพัฒนาคุณภาพนิสิตและนิสิตพิการ ได้มอบหมายให้ นางสาวอำนวยพร ขัติวงศ์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาคุณภาพนิสิตและนิสิตพิการ และนางสาวปริตา เจริญสิน นักวิชาการศึกษา งานพัฒนาคุณภาพนิสิตพิการ เข้าร่วมโครงการพัฒนาความรู้ด้านการให้ความช่วยเหลือนิสิต นักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้พฤติกรรมหรืออารมณ์ และบุคคลออทิสติก ในระดับอุดมศึกษา จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมี ผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการ และมีตัวแทนคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ เข้าร่วม
โครงการดังกล่าวมีการจัดเนื้อหาเพื่อการฝึกอบรม อาทิ
1. การให้คำปรึกษาและดูแลสุขภาพจิตเด็กพิเศษ
2. ลักษณะ ประเภท และการคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องไม่เห็นเด่นชัด
3. กลวิธีการสอน การดูแล และเทคนิคที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
4. ครอบครัวกับการดูแลเด็กพิเศษ
5. บทบาทของศูนย์บริการนิสิต นักศึกษาพิการ(DSS Center) ในการอำนวยความสะดวกและให้ความช่วยเหลือ
6. จิตวิทยาการดูแล : Case ตัวอย่าง การเรียนรู้และวิธีการรับมือ
7. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลช่วยเหลือกลุ่มบุคคลที่มีความบกพร่องไม่เห็นเด่นชัด
โดยมีประเด็นการมีส่วนร่วมดังนี้
เพื่อให้คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะและประเภทของความบกพร่องที่ไม่เห็นเด่นชัด ( Invisible Disabilities ) การคัดกรอง การแก้ไขปัญหา และแนวทางการ ให้ความช่วยเหลือแก่นิสิต นักศึกษากลุ่มดังกล่าว เพื่อให้คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำความรู้ และเทคนิควิธีจากการอบรม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
ผู้เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการกอง หัวหน้างาน/ศูนย์ และคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ศูนย์บริการนิสิต นักศึกษาพิการ (DSS Center) ของเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา ทั้งสิ้น 90 คน
ผลจากการมีส่วนร่วม
1. ผู้เข้าร่วม ได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะ/ประเภทของความบกพร่องที่ไม่เห็นเด่นชัด ( Invisible Disabilities ) การคัดกรอง การแก้ไขปัญหา และแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่นิสิต นักศึกษากลุ่มดังกล่าว
2. ผู้เข้าร่วม สามารถนำความรู้ และเทคนิควิธีได้รายงานผลการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การให้บริการและดูแลนิสิตนักศึกษา ของคณะ วิทยาลัย ศูนย์บริการนิสิต นักศึกษาพิการ (DSS Center) เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานการดูแลนิสิต นักศึกษา ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้พฤติกรรมหรืออารมณ์ และบุคคลออทิสติก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. นิสิต นักศึกษา ที่มีความบกรพร่องทางการเรียนรู้ พฤติกรรมหรืออารมณ์ และบุคคลออทิสติกได้รับบริการและความช่วยเหลืออย่างถูกต้อง เหมาะสม และสมเหตุสมผล
4. ผู้เข้าร่วม ได้มีการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา เพื่อช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานดูแลนิสิต นักศึกษา ต่อไป
การนำผลมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
1. ผู้เข้าร่วม สามารถนำประเด็นการมีส่วนร่วม ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน และนำความรู้ เทคนิควิธีได้รายงานผลการดำเนินงาน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การให้บริการและดูแลนิสิตนักศึกษา ของคณะ วิทยาลัย ศูนย์บริการนิสิต นักศึกษาพิการ (DSS Center) เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานการดูแลนิสิต นักศึกษา ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้พฤติกรรมหรืออารมณ์ และบุคคลออทิสติก โดยจะได้เสนอแก่มหาวิทยาลัยพิจารณา ส่วนงาน หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนเพื่อการขับเคลื่อนการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มยิ่งขึ้นต่อไป
2. ผู้เข้าร่วม เห็นควรให้นำเนื้อหาความรู้ เทคนิควิธี ตลอดจนสื่อต่างๆ ที่ได้จากการอบรม ไปขยายผลต่อ ในสถานศึกษาของตนเอง
3. ผู้เข้าร่วม ได้เสนอให้ส่วนกลาง มีการจัดโครงการแบบนี้อีก และมีการ Work Shop กลุ่มย่อยให้มากขึ้น และในขณะเดียวกันเสนอให้มีการปรับสถานที่จัดการอบรม