เมื่อวันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2566 กองพัฒนาคุณภาพนิสิตและนิสิตพิการ ได้รับเกียรติจาก ดร.วุฒิชัย ไชยรินคำ รองอธิการบดีฝ่ายคุณภาพนิสิต ดร.จารุวรรณ โปษยานนท์ เข้าร่วมรับฟังผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างสุขภาวะภายในองค์กร (1 ส่วนงาน 1 โปรแกรม) Project : Good Health Well – Being : BMI Challenge โดยมีนางสาวอำนวยพร ขัติวงศ์ ผู้อำนวยการกอง ร่วมกับหัวหน้างาน กองพัฒนาคุณภาพนิสิตและนิสิตพิการ นำเสนอผลการดำเนินงาน
โครงการเสริมสร้างสุขภาวะภายในองค์กร (1 ส่วนงาน 1 โปรแกรม) Project : Good Health Well – Being : BMI Challenge กองพัฒนาคุณภาพนิสิตและนิสิตพิการ จัดกิจกรรมสัปดาห์ละ 2 วัน คือ วันอังคาร และวันพฤหัสบดี เวลา 15.30 – 16.30 น. ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม – 29 สิงหาคม 2566 ณ อาคารสงวนเสริมศรี มหาวิทยาลัยพะเยา แบ่งกิจกรรมออกเป็นดังนี้
1. ประชุมหัวหน้างาน และบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่อถ่ายทอด สร้างความเข้าใจ สร้างกระแสและร่วมกิจกรรม
2. ดำเนินกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 29 สิงหาคม 2566
2.1 ฟังเรื่องเล่า การออกกำลังกาย และการกินที่เหมาะกับวัย และเวลา จาก ดร.ภัทรวรรณ ละโป้ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะ วิทยาศาสตร์
2.2 กิจกรรมขยับกาย คลายอุรา สัปดาห์ละ 2 วัน คือ วันอังคาร และวันพฤหัสบดี เวลา 15.30 – 16.30 น. ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม - 30 กันยายน 2566 ณ อาคารสงวนเสริมศรี มหาวิทยาลัยพะเยา (ประกอบด้วยกิจกรรม การออกกำลังกายแบบกระชับกล้ามเนื้อทั่วไป หรือการฝึกสมาธิและโยคะเพื่อความสงบในใจ นอกจากนี้ยังมีการเต้นแอโรบิกแดนซ์)
3. กิจกรรมสร้างพลังกาย และใจ ระหว่างทาง BMI Challenge เพื่อติดตาม ปรับรูปแบบกิจกรรม ให้เหมาะสมกับสภาวะงาน (ให้ทุกคนมาชั่งน้ำหนักทุกวันพฤหัส สิ้นเดือน และประชุมหัวหน้างานเพื่อสร้างกระแสการร่วมกิจกรรม และปรับรูปแบบกิจกรรม)
4. สรุปผลกิจกรรม โดยหัวหน้างาน ร่วมกับผู้อำนวยการกอง
5. นำเสนอผลการสรุปกิจกรรม และมอบรางวัลให้กับบุคลากร
- จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 23 คน
- จำนวนครั้งการจัดกิจกรรม 28 ครั้ง
สรุปผลผู้ที่ได้รับการพิจารณารับรางวัล
1. ชนะเลิศอันดับ 1 ว่าที่ร้อยตรี วิชาญเมธ เจริญศัสตรารักษ์
2. รองชนะเลิศอันดับ 2 นายตฤณ ธุระพ่อค้า
3. รองชนะเลิศอันดับ 3 ดร.กลางวารี ไชยวุฒิ
----------------------------------------------
โครงการนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุน จาก โครงการ Super KPI ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 กลยุทธ์ 2.1.1 Best Practice ที่ใช้ BCG Model เป็น Platform ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคม (Societal Well-Being) โดย กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา