หัวหน้างาน กองพัฒนาคุณภาพนิสิตและนิสิตพิการ ได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรม หลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้อำนวยการและหัวหน้างาน รุ่นที่ 1 UP EMPOWERMENT 2023 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจถึงกระบวนทัศน์การบริหารอุดมศึกษาโดยใช้หลักการบริหารทีมงานในบริบที่เปลี่ยนแปลง เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการสื่อสารและการถ่ายทอดนโยบายสู่ผู้ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพและเกิดเครือข่ายร่วมมือในการบูรณาการทำงานร่วมกัน หัวหน้างาน จำนวน 5 คน ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 1. หัวหน้าศูนย์ให้คำปรึกษาและสร้างเสริมสุขภาวะ
นางธัญญ์พิชฌา สิงห์สถิตย์ ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา สมาชิกกลุ่ม 1 คำมอกหลวง
2. รักษาการแทนหัวหน้างานส่งเสริมคุณภาพชีวิตนิสิต
นายสมพงษ์ จันทร์พิมพ์ ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา สมาชิกกลุ่ม 2 ฟ้ามุ่ย
3. หัวหน้างานธุรการ
นางสาวสุภาพร บัวผัด ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ สมาชิกกลุ่ม 3 ดาวเรือง
4. หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพนิสิตพิการ
นายอภิเชษฐ ดูใจ ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา สมาชิกกลุ่ม 4 เฟื่องฟ้า
5. หัวหน้างานทุนการศึกษา
ดร.กลางวารี ไชยวุฒิ ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา สมาชิกกลุ่ม 10 หอมหมื่นลี้
รูปแบบการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย การบรรยายและกิจกรรมฝึกปฏิบัติ (workshop) ดังนี้
วันที่ 5 - มีนาคม 2567 ณ ไร่ภูกลองฮิลส์ จังหวัดพะเยา มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นระยะเวลา 3 วัน เน้นการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน โดยได้รับความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการใหม่ๆที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น กระบวนการปฏิบัติงานตามเกณฑ์ EdPEx หลักนิติธรรม และหลักการสื่อสารและการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ นอกจากนี้ยังเน้นให้ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจถึงความสำคัญของการนำเสนอและแบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่น รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
วันที่ 11 - 15 มีนาคม 2567 ณ พื้นที่ชุมชน มีการจัดกิจกรรมลงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนชุมชนสู่พื้นที่เชิงสร้างสรรค์ ถือเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนได้มีโอกาสที่จะสัมผัสและเรียนรู้จากสถานการณ์จริงในชุมชน ทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม โดยเน้นการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่ในชุมชน โดยใช้ความรู้และทักษะที่ได้รับจากการอบรม เพื่อสร้างประโยชน์และความเป็นเลิศในระดับชุมชนและสังคมโดยรวม
วันที่ 20 มีนาคม 2567 ณ ห้อง UB002 อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับจากชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแสดงถึงการแบ่งปันและส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างชุมชนกับบุคลากรของมหาวิทยาลัยพะเยา โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์และขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
การเข้าร่วมโครงการดังกล่าวไม่เพียงแค่ช่วยเสริมสร้างทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานของทุกคนในหน่วยงาน และยังส่งผลต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจในชุมชนท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเน้นการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมใหม่ในชุมชน ตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยพะเยา "มหาวิทยาลัยสร้างปัญญา เพื่อนวัตกรรมชุมสู่สากล อย่างยั่งยืน"